วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555

อาการเปิดเครื่องติดไม่ขึ้นภาพ ไฟ power ติด notebook

อาการไฟจ่ายแต่ไม่ขึ้นภาพ เปิดเครื่องติด ไม่มีภาพที่หน้าจอ

ใช้งานได้ปกติ พอเครื่องค้าง หรือ อยู่ดี ๆ เครื่องดับเอง พอเปิดใหม่เครื่องเปิดไม่ติด ทิ้งไว้สักพักกลับมาเปิด เปิดติดแต่ไม่มีภาพขึ้น

ขั้นตอนปฏิบัติ

•นำแผงเมนบอร์ดของโน๊ตบุ๊คที่เราแกะออกจากตัวเครื่องแล้ว ออกมาหาที่วางนุ่มๆ อาทิเช่นฟองน้ำ หนาๆ

•ติดตั้ง CPU,RAM และแผงควบคุมการสั่งเปิดปิดเครื่องลงไป

•เชื่อมต่อสายสัญญาณ DB-15 จากจอภาพภายนอก (เช่น จอ CRT หรือ LCD ที่ใช้กับเครื่องแบบตั้งโต๊ะ

นอกจากจากที่ได้กล่าวถึงนี้นะครับ เพื่อนๆ ไม่ควรจะเสียบอุปกรณ์ใดเข้าไปยุ่งเกี่ยวเพิ่มเติมอีก เช่น HardDisk,DVD-RW ,Battery,Keyboard,Touch Pad และอื่นๆ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้ไม่ได้มีผลทำให้เกิดภาพแต่ประการใดครับ

 
•เมื่อปฏิบัติตามสามข้อข้างต้นแล้ว ก็ขอให้เพื่อนๆทำการเสียบขั้วไฟจาก Adaptor สำหรับโน๊ตบุ๊คเครื่องนั้นๆนะครับ จากนั้นกดปุ่มสวิชท์ Power On ตอนนี้ไฟก็จะจ่ายเข้าเครื่องตามปรกติ พัดลมของ CPU อาจจะหมุน หรือยังไม่หมุน หรือหมุนสักพักแล้วหยุดลง อันนี้ก็แล้วแต่โน๊ตบุ๊คในแต่ละยี่ห้อ และแต่ละรุ่นนะครับ

รอประมาณ 10 วินาที เพื่อดูว่าได้ภาพหรือไม่

•ตาคอยสังเกตุภาพที่จอที่เราต่อพ่วงไว้ หรืิออาจจะลุ้น โดยการดูที่ไฟสถานะของจอภาพ (ซึ่งในขณะที่ยังไม่มีภาพนั้นจะเป็นอีกสีนึง เช่น อาจเป็นน้ำเงิน หรือส้ม ซึ่งอาจกระพริบอยู่ก็ได้นะครับ แต่เมื่อมีภาพก็จะเปลี่ยนเป็นสีเขียว นิ่ง


ปรากฏว่าก็ยังไม่ได้ภาพอีกเหมือนเดิม จะทำยังไงกันต่อดี…


•พอถึงตรงนี้ เราก็พอจะมั่นใจได้แล้วนะครับว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ มันอยู่แต่ในเมนบอร์ดอย่างเดียวเท่านั้น เพราะเพื่อนๆ ได้ทำการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นไปแล้ว (ตามที่ผมได้พูดไว้ใน ตอนที่1)


ขั้นตอนการตรวจเช็คในวงจร



•รูปด้านบนนี้ ผมนำมาให้เพื่อนๆดู ก็เพื่อให้ทราบถึงขาในตำแหน่งต่างๆ ของ ROM BIOS (ตามรูปด้านบน เป็นแบบ TSOP ) ผมกำลังจะให้เพื่อนๆทราบว่า ในเวลาที่เราจ่ายกระแสไฟเข้าเครื่องแต่ยังไม่ได้ออนเครื่อง(กดปุ่ม Power On) นั้น เราสามารถใช้สโคป จับไปที่ขาสัญญาณ (Clk) ตัวถังแบบ TSOP จะมี Clk ที่ขา 7 เราจะเห็นรูปสัญญาณ เกิดขึ้น นั่นแสดงว่า เราพร้อมที่จะสั่งออนเครื่องได้แล้ว แต่ถ้าไม่มี(ในบางรุ่น) ก็อาจเป็นเหตุผลที่เราไม่สามารถกด Power Sw เพื่อให้เครื่องทำงานได้นั่นเอง ***เป็นความเข้าใจของผู้จัดทำที่ตรวจซ่อมเครื่องและได้เก็บเป็นข้อมูลไว้นะครับ***


 
ตัวถังแบบ PLCC ขา Clk จะอยู่ที่ขา 31


















ตัวถังแบบ SOic 8 ขา Clk จะอยู่ที่ขา 6

 


•ให้ทำการกดปุ่ม Switch Power On เพื่อให้ไฟจ่ายในระบบ จากนั้น


•ให้ทำการวัดไฟที่ตำแหน่งขั้วแบตเตอรี่ ว่ามีไฟเลี้ยงที่ประมาณ 3.3 โวลท์บ้างหรือไม่ (ควรมีมา)

•ให้ทำการตรวจวัดไฟที่ขาไฟของไบออส รอม (เช่นหากเป็นแบบ SO-IC8 ก็ตรวจวัดที่ขา 8 )ควรมีไฟมาเีลี้ยง 3.3 V.


•ให้ทำการตรวจวัดไฟที่ตำแหน่ง C แบบมีขั้ว ที่อยู่รอบๆของฐานแรม ควรมีไฟเลี้ยงประมาณ 1.5 , 1.8 , 2.5 , หรือ 3.3 V. ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของแรมในเมนบอร์ดนั้นๆ ครับ


•ให้ทำการตรวจวัดไฟที่ตำแหน่ง C แบบมีขั้ว ที่อยู่รอบๆของฐาน CPU ว่าควรมีไฟมาเลี้ยงประมาณ 1.XX V. หรืออาจต่ำกว่า 1.xx ไม่มาก ก็ไม่ถือว่าผิดปรกติ (ดังรูปด้านล่างนี้ผมได้จับแรงไฟซีพียูให้เพื่อนๆดว่า จริงๆแล้ว ซีพียูแต่ละตัว ต่างสเป็คกัน แรงไฟ อาจแตกต่างกันไปนะครับ
 
•ให้ใช้สโคปวัดความถี่ 33 MHz ที่ ที่อยู่ใกล้กับ Multi IO

•ให้ใช้สโคปวัดความถี่ 14.3 MHz ที่ Cystal 14.3 ของ Clock Gen(เมื่อระบบไฟมีการจ่ายในเมนบอร์ดแล้ว)


ปฏิบัติตามนี้ก่อนนะครับ แล้วเดี๋ยวผมจะมาพูดต่อกันในตอนที่ 3 สวัสดีครับ


ขอบคุณแหล่งที่มา : http://repair-notebook.com/archives/2118







ผู้สนับสนุน